ระเบียบวาระที่  ๕  เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
                      ๕.๖  การขออนุมัติอาจารย์พิเศษกรณีสอนมากกว่าร้อยละ  ๕๐  
 
สรุปเรื่อง
                      มหาวิทยาลัยเสนอขออนุมัติอาจารย์พิเศษสอนมากกว่าร้อยละ ๕๐  จำนวน  ๓ ราย  จำแนกรายคณะ ดังนี้
                      ๑.  คณะวิทยาการจัดการ จำนวน  ๒  ราย 
                      ๒.  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  สระแก้ว จำนวน  ๑ ราย 
 
                    ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๓  เมื่อวันที่  ๒๐  สิงหาคม  ๒๕๖๓  เรียบร้อยแล้ว
                    ในการนี้ มหาวิทยาลัยดำเนินการเป็นไปตามตามหนังสือจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ อว ๐๒๒๔/ว ๖๕๓  ลงวันที่  ๘  ตุลาคม  ๒๕๖๒ เรื่องชี้แจงแนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘  และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ ในกรณีของอาจารย์พิเศษ “หากรายวิชาใด  มีความจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรภายนอกมากกว่าร้อยละ ๕๐ สถาบันอุดมศึกษาก็สามารถดำเนินการได้  เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด  แต่ต้องมีอาจารย์ประจำร่วมรับผิดชอบกระบวนการเรียนการสอนและพัฒนานักศึกษาตลอดการจัดการเรียนการสอนของรายวิชานั้น ๆ ด้วย โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษา  ถือเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘” ขอนำเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อโปรดพิจารณา 
 
ประเด็นที่เสนอ
                  ๑.  เพื่อโปรดพิจารณา
                  ๒.  สุดแต่จะเห็นสมควรประการใด
 
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                  ๑.  ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘
                  ๒.  หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ อว ๐๒๒๔/ว๖๕๓  ลงวันที่  ๘ ตุลาคม ๒๕๖๒ “เรื่องชี้แจงแนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘  ในกรณีของอาจารย์พิเศษ”
 
มติที่ประชุม
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................